ESS หรือ Energy Storage System คือ ระบบหรืออุปกรณ์ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานในรูปแบบอื่น เพื่อกักเก็บไว้ใช้งานในเวลาอื่นที่จำเป็น

แผน ESS ภาคประชาชน (แผนระบบกักเก็บพลังงานภาคประชาชน)
คุณอมร ทรัพย์ทวีกุล ประธานคณะทำงานแผนระบบกักเก็บพลังงานภาคประชาชน

ความสำคัญ

จากปัญหาเรื่องภาวะโลกร้อน ที่ถือเป็น Hot Issue ที่ประชาคมโลกเริ่มมีมาตรการส่งเสริมและผลักดัน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน และจริงจัง อาทิเช่น มาตรการ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) จากสหภาพยุโรป ฯลฯ ส่งผลให้ประเทศไทยต้องหันมาเร่งปรับตัวในเรื่องดังกล่าวร่วมกับประชาคมโลกด้วย เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผ่านมาตรการส่งเสริมต่าง ๆ เช่น

  • การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากกว่าร้อยละ 30 ของการใช้พลังงานทั้งหมด (RE>30%)
  • ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ร้อยละ 30 ภายในปี 2030 (30@30)
  • ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน
  • 4D1E (Decarbonization: การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคพลังงาน, Digitalization: การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการบริหารจัดการระบบพลังงาน, Decentralization: การกระจายศูนย์การผลิตพลังงานและโครงสร้างพื้นฐาน, Deregulation: การปรับปรุงกฎระเบียบรองรับนโยบายพลังงานสมัยใหม่ และ Electrification: การเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงานมาเป็นพลังงานไฟฟ้า)

“ESS ถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ ดังกล่าว”

ปัญหาอุปสรรคและข้อจำกัดในการส่งเสริม ESS

  • ปัจจุบันยังไม่อนุญาตให้ผู้ใช้ไฟฟ้า และโครงข่ายไฟฟ้าส่วนกลางซื้อขายไฟฟ้าได้ 2 ทาง รวมถึงการห้ามซื้อขายไฟฟ้ากันเองระหว่างผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อย
  • ความเชื่อมั่นและบริบททางสังคม ยังเชื่อว่า ESS ต้นทุนสูง, ความเสี่ยงต่อความมั่นคงด้านไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน
  • ข้อจำกัดด้านกฎหมาย รวมถึงนโยบายจากภาครัฐที่ยังไม่มีการส่งเสริมการลงทุนด้าน ESS อย่างจริงจัง

ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริม ESS

การตลาดและความต้องการ (Demand Side)

  • ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า เช่น นโยบายลดภาษี รถไฟฟ้าคันแรก รถเก่าและรถใหม่ เป็นต้น
  • ศึกษามาตราการสสนับสนุนโครงการ Firm SPP ที่ใช้พลังงานทดแทน + ESS เช่นการให้ Adder
  • ปรับค่าไฟขายปลึก ให้จูงใจผู้ใช้ไฟฟ้าในการลงทุนระบบ ESS

นโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (Regulations)

  • ปรับปรุง มาตรฐาน สมอ. สำหรับระบบกักเก็บพลังงาน
  • อนุญาตให้มรการใช้มาตรการซื้อขายไฟฟ้าจากระบบกักเก็บพลังงานระหว่างผู้ใช้กันเอง (P2P Energy Trade)

การสนับสนุนผู้ผลิต (Supply Side)

  • สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับผู้ผลิตในประเทศไทย เช่นมาตรการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้น ภาษีศุลกากรของตัวอย่างวัตถุดิบในแบตเตอรี่
  • มาตรการสนับสนับสนุนการลงทุนต่าง ๆ เช่น เช่นการยกเว้นดอกเบี้ยงกู้ในระยะเวลาหนึ่งกับผู้ประกอบการ

สนับสนุนโครงการพัฒนาเทคโนโลยี (R&D)

  • สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยี
  • สนันบสนุนการสร้างธุรกิจใหม่และบุคลากรเชี่ยวชาญจากต่างประเทศ

แผนการก่อสร้างโรงงานแบตเตอรี่ในประเทศไทย

บริษัท Technology กำลังการผลิต เริ่มผลิต แผนขยายการผลิต ที่ตั้ง
GPSC Semi-Solid 30 MWh ไตรมาส 2/2564 5,000 MWh (Final Phase) EEC (นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด)
โรจนะ/EVLOMO Lithium-ion  1,000 MWh ประมาณปี 2565 8,000 MWh (Final Phase) EEC (นิคมอุตสาหกรรมหนองใหญ่
Energy Absolute Lithium-ion  1,000 MWh ไตรมาส 2/2564 50,000 MWh (Final Phase) EEC (ฉะเชิงเทรา)
เยี่ยมชมแล้วจำนวน (ครั้ง) :3280